Reveal the madness ปลุกความคลั่ง

จากประสบการณ์ทางความรู้สึกและความกดดันและการถูกกดทับด้วยลำดับขั้นทางอำนาจของสังคมไทย ต้องพบเจออยู่เสมอ การที่โดยคำดูถูก คำสบประมาท การถูกมองว่าท้าทายอำนาจ และพฤติกรรมที่แสดงออกถึงอำนาจที่เหนือกว่า  ที่ผู้น้อยต้องทำตามผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่าอยู่เสมอๆ ในสังคมไทย การถูกกดทับและการต้องทำตามโดยความจำยอมในบทบาทของลำดับขั้น ทางสังคม โดยเฉพาะคำว่าผู้น้อย แพรวา รุจิณรงค์ จึงนำความรู้สึกเหล่านี้มาถ่ายทอดผ่านงานศิลปะจัดวาง ในรูปแบบของ TEXTILE ART นำแก่นทางความรู้สึกถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดที่มีเนื้อหาแสดงออกถึงข้อความ กลุ่มคำ ที่ตัวเธอถูกผู้อื่นกระทำมาตลอดระยะเวลาการทำงานในหลากหลายหน้าที่ และบริบทที่เธอต้องรับผิดชอบ 

การถ่ายทอดงานชิ้นนี้ถือเป็นการปลดปล่อยความรู้สึกของตัวเธอที่ ผ่านการวิเคราะห์ตามหาจุดกำเนิดของวิธีการระบาย หรือปลดปล่อย ซึ่งในวัยเด็ก เมื่อเธอเจอกับสถานการณ์อันกระทบจิตใจในด้านลบ เธอจะนำข้อความเล่านั้นเขียนลงสมุดบันทึก เสมอเป็นการระบายและถ่ายทอดเรื่องราวที่ไม่สามารถพูดกับใครได้ ซึ่งวิธีนี้เธอได้จดบันทึกตั้งแต่อายุ9 ขวบ จน ถึงอายุ 20ปี เมื่อเธอเข้ามหาวิทยาลัยการระบายในสมุดเล่มนี้จึงหยุดลง 

การทำงาน“ปลุกความคลั่ง” จึงเป็นการปลุกวิธีการจัดการทางความรู้สึกที่เธอใช้มาตั้งแต่วัยเด็ก มาเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดสถานการณ์ในปัจจุบันที่เธอประสบและพบเจอ โดยการเขียนข้อความและกลุ่มคำ ด้วยการย้อมแผ่นใยไหมจากครั่ง นำมาเขียนขอความด้วยเทคนิคบาติกและการกัดสี

ในความคลั่งนั้นถูกแฝงด้วยทุกวัสดุที่พูดถึง“การทรมาน การบังคับ การฆ่า”ซึ่งวัสดุหลักที่นำมาใช้คือ แผ่นใยไหม เป็นการสร้างแผ่นใยด้วยการบังคับไม่ให้หนอนไหมพ่นเส้นใยทำรังเป็นดักแด้ เมื่อหนอนไหมหลายตัวเดินพ่นใยในแนวระนาบขัดสานกันจนเกิดเป็นแผนแล้วจึงตายในที่สุด (หนอนไหมจะทำรังไหมเพื่อเป็นดักแด้ เมื่อถึงเวลาจะออกจากรังกลายเป็นผีเสื้อ) 

สีแดงสดและแดงเลือดนกบนแผ่นใยไหม แพรวาได้เลือกใช้วัสดุให้สี คือ คลั่ง ซึ่งคลั่งเป็นแมลงชนิดหนึ่งที่ทำรังอยู่บนต้นไม้ นำมาสกัดเอาเม็ดสีจากตัวแมลงด้วยวิธีการชงกับน้ำร้อน แล้วจึงนำไปย้อมบนแผ่นใยไหม การเลือกใช้วัสดุและวิธีการย้อมแบบดั่งเดิม เกิดจากประสบการณ์ของ แพรวา เมื่อเริ่มเข้าสู่การเรียนทอผ้าไหมในรูปแบบไทยแต่ดั่งเดิม ทุกขั้นตอนต้องผ่านความอดทนจากการทำงานกับความร้อนและน้ำร้อนที่เดือดจัด ความรู้สึกความเหนื่อยล้าของร่างกายเมื่อต้องทำงานซ้ำๆ เป็นระยะเวลานาน ขั้นตอนเหล่านี้เป็นการถูกฝึกจิตใจและร่างกาย ให้แข็งแรง อดทน และมุ่งมั่นเพื่อได้มาซึ่งความรู้และการยอมรับ   

แก่นหลักของการทำงานศิลปะชิ้นนี้คือการลงมือเขียนข้อความเป็นระยะเวลา 2 ปีเต็ม เป็นการจดบันทึกห้วงความรู้สึกต่างๆในช่วงเวลา เพื่อเตือนสติและวิเคราะห์ตนเอง ตลอดระยะเวลาที่สร้างผลงานชิ้นนี้ แพรวา เองได้ปลดปล่อยอีกมิติของตัวตน การเติบโต ระยะเวลาของช่วงชีวิต จะทำให้เราพบว่า ปัญหาที่เข้ามาในชีวิต แรงกระทบที่ผู้อื่นกระทำต่อเธอ ด้วยการดูถูก คำสบประมาท คำถากถาง หรือแม้แต่พฤติกรรมที่บุคคลภายนอกกระทำต่อเธอ ก็เป็นเพียงเปลือกนอก มันจะมีผลหรือไม่ขึ้นอยู่กับตัวเรา 

“แพรวาเอาครั่งมาย้อมผ้าและเขียนถ้อยคำสบประมาทที่เคยมีคนพูดเหยียดหยามเธอราวกับพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ที่ต้องจารึกด้วยเลือดในชีวิตที่เผชิญอยู่ฉันได้พบกับคำจำกัดความเดิมๆคำที่น่าเบื่อหน่ายคำที่ถูกกล่าวซ้ำไปซ้ำมาอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันเป็นวาทกรรมที่ทำให้ถูกยึดติดอยู่กับที่เหมือนโซ่ที่บาดลึกเมื่อพยายามจะหลุดทั้งดึงทั้งกระแทกก็เป็นบาดแผลไปทุกครั้งแต่ช่างมันยิ่งเจ็บยิ่งโดนดูถูกมันกลับสร้างความรู้สึกให้ยิ่งต้องลุกขึ้นมาเอาชนะคำพูดเหล่านั้น”

Phraeva Rujinarong analogizes societal pressures on women to conform to chains that trap and cut, drawing correspondences between ‘feminine’ practices of craft and violent subordination 

Material: non-woven silk sheets, lac

Technique: batik and embroidery

ศิลปิน: แพรวารุจิณรงค์ PHRAEVA RUJINARONG 

2016-1018

 

Previous
Previous

Young Textile Designer สลิลา เขมโชติกูร หรือ แป้ง “ทอฝัน สตูดิโอ”

Next
Next

History and evolution of HOL fabric in surin province ,Thailand